36119 จำนวนผู้เข้าชม |
วิกฤติไฟป่าและหมอกควันพิษ ในภาคเหนือของเรายังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องมาหลายชั่วอายุคน และยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่ยังคงไม่มีทางออก โดยจะเกิดขึ้นทุกปีในช่วงฤดูร้อน ความถี่ในการเกิดไฟป่าทั้งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และคนทำ คิดเป็น 73.17% ของการเกิดไฟป่าทั้งประเทศเลยทีเดียวนะคะ
หมอกควันที่เกิดจากไฟป่า เกิดจากการสันดาปที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้เกิด ควันไฟ ฝุ่นละออง หมอก ขี้เถ้า และแก๊สพิษต่าง ๆ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2), ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ ก๊าซโอโซน (O3) เป็นต้น โดยมลพิษพวกนี้จะปนเปื้อนอยู่กับอนุภาคหมอกควัน ซึ่งแน่นอนว่าพื้นที่ที่อากาศแห้ง นิ่ง ไม่มีลมพัด จะเสี่ยงที่จะได้รับสารมลพิษมากกว่าพื้นทื่อื่นๆ เพราะฝุ่นละอองเหล่านี้ สามารถแขวนลอยในอากาศได้นานมากๆ ยิ่งมีขนาดเล็กยิ่งแขวนลอยได้นานเป็นปีๆเลยทีเดียวนะคะ
มีการรายงานจากสำนักงานข่าวเอเอฟพี ถึงยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วโลก อยู่ที่ประมาณ 339,000 คน/ปี โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่อันดับ 2 มียอดผู้เสียชีวิตประมาณ 110,000 คนต่อปี
ในประเทศรัสเซีย ปีพ.ศ. 2553 มีไฟป่าครั้งใหญ่เกิดขึ้นทำให้มีผู้เสียในกรุงมอสโกเฉลี่ย 700 คน/วัน และยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมดอาจมากถึง 15,000 คน โดยมีสาเหตุจากการได้รับคลื่นความร้อนและการสูดดมหมอกควันพิษค่ะ ถึงแม้ว่าในประเทศไทยจะยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากหมอกควันไฟป่า แต่มีผู้คนได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพทางเดินหายใจและหัวใจมากกว่า 10,000 คนในภาคเหนือ
มลพิษทางอากาศในภาคเหนือนั้นจะสูงกว่าที่อื่น เพราะว่าภูมิประเทศของภาคเหนือนั้นมีภูเขาล้อมรอบ ทำให้เกิดการสะสมมลพิษ แถมยังรับแรงความกดอากาศสูงจากประเทศจีนอีกต่างหาก ทำให้ช่วงเช้าอากาศจะชื้น เมื่อละอองน้ำในอากาศชื้นๆเหล่านี้ รวมตัวกับสารมลพิษในอากาศก็จะเกิดเป็นหมอกพิษปกคลุมไปทั่วเมืองได้เลยคะ
สสารมลพิษในอากาศ จะอยู่ใน 2 รูปแบบคือ รูปแบบก๊าซ และรูปแบบอนุภาคแขวนลอย ซึ่งจะปนเปื้อนอยู่ในอากาศที่เราหายใจเข้าไปอยู่ทุกวัน โดยสุขภาพของเราจะได้รับผลกระทบจากสารมลพิษแตกต่างกันไปตามขนาดของฝุ่นละออง ความเข้มข้น และระยะเวลาที่สัมผัส รวมไปถึงสภาพร่างกายของผู้ที่รับมลพิษเข้าไปด้วยค่ะ
ขนาดอนุภาคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์คือ อนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-10 ไมครอน หรือเรียกว่า สารอนุภาค (Particulate Matter) PM10 และ อนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 หรือเรียกว่า สารอนุภาค (Particulate Matter) PM2.5 โดยหมอกควันไฟจะปนเปื้อนไปด้วย ฝุ่นละอองขนาด PM2.5 และ PM10 ค่ะ โดยเจ้าฝุ่น PM2.5 นี้จะสามารถเข้าสู่ปอดและกระจายไปทั่วร่างกายได้โดยง่าย
เนื่องด้วยการตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในหน่วยงานรัฐยังไม่เป็นมาตรฐาน แต่ผลจากการตรวจวัดปริมาณฝุ่นขนาดเล็ก (PM10) ของกรมควบคุมมลพิษในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 5 มีนาคม 2555 นั้นพบว่าค่า PM10 มีค่าเฉลี่ยในช่วง 24 ชั่วโมง มีปริมาณเกินเกณฑ์มาตรฐาน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเกือบทุกจังหวัดเลยนะคะ ซึ่งจังหวัดที่มีค่า PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุดเกินค่ามาตรฐานกว่า 2 เท่าเลยเชียวล่ะ ลองจิตนาการดูนะคะว่า PM2.5 ที่ปนเปื้อนได้นานกว่าและส่งผลรุนแรงกว่าจะมีปริมาณสูงมากแค่ไหน มองไม่เห็นไม่ใช่ว่าไม่มี ไม่รายงานก็ไม่ใช่ว่าไม่มีอยู่จริง เพราะฉะนั้นเราไม่ควรประมาท เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจของเราที่ดีที่สุดกับ RespoKare เรสโปแคร์ หน้ากากป้องกันมลพิษและฝุ่นควัน